วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1.การวิเคราะห์หลักสูตร
การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งจุดมุ่งหมายและเนื้อหาเพื่อนำมาวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการสอบ
2.การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
3.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
             
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
            การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม
        2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล
        3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
              4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์
        5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
        6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ
        7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
4 .การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใช้สื่ออย่างเดียวและสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่หลากหลายและสะดวกรวดเร็วต่อการทำงานเช่น     
1.สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง
2.Social Network
Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น2.1m-Learning
การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell Phones /Cellular Phone ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง
5 การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
          การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.  เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
              2.   เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
              3.  เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4.   ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
5.   เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
6.  การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
7.  เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
6 การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
  1.เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงในการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
 2. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเรียนหรือกิจกรรมระหว่างเรียนทุกครั้ง
3. เพื่อรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองได้ทราบเป็นรายๆ
 4.เพื่อทราบจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน
5.  เพื่อนำผลการเรียนไปปรับปรุงในครั้งต่อไปได้ถูกต้องตรงประเด็น
7 การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนเอง
การทำวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งมีวิธีการดังนี้
1.ปัญหาในการวิจัย
2.สาเหตุของปัญหา
3.การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา
4.การพัฒนานวัตกรรม
5.การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6.ผลการใช้นวัตกรรม
วิธีการเหล่านี้จะทำให้โครงการหรือการพัฒนานวัตกรรมงานต่างๆบรรลุไปได้ด้วยดี
ตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ศาสนา เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง ความหมายและความสำคัญของศาสนา เวลา 1 ชั่วโมงสาระที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม หลักธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 : เข้าใจประวัติความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่รวมกัน
สาระสำคัญศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของแต่ละศาสนาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายความหมายและความสำคัญของศาสนาได้
สาระการเรียนรู้
ศาสนา คือ หลักคำสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้กระทำแต่ความดี เพื่อความสงบสุขของคนในสังคมคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การนัยถือศาสนาพุทธเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประเทศไทยให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา ดังนั้นจึงมีคนไทยนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาซิกซ์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงมีหน้าที่อุปถัมภ์ศาสนาทั้งปวง
กระบวนการเรียนรู้
1.
ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา ทบทวนความหมายของศาสนาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว
2.
ครูให้นักเรียนดูภาพการนั่งสมาธิ แล้วสนทนากับนักเรียนถึงผลดีของการทำสมาธิว่าทำให้จิตใจร่มรื่น สงบ เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา เมื่อเราปฏิบัติตนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สังคมก็จะมีความสงบสุข
3.
ให้นักเรียนบอกเล่าประโยชน์ของศาสนาที่มีต่อสังคมมาคนละ 1 อย่าง ครูเขียนคำตอบไว้บนกระดาษ แล้วให้นักเรียนเลือกมา 2 ข้อ อภิปรายกันตามหัวข้อนี้
4.
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 คน เลือกทำใบงานที่ 1 หรือใบงานที่ 2
5.
เลือกตัวแทนนักเรียนมาเฉลยบัตรงานที่ และบัตรงานที่ 2 โดยให้เพื่อน ๆ ในห้องช่วยกันตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่
6.
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน
7.
นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึกหัด
กระบวนการวัดผลประเมินผล
1.
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2.
สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
3.
การนำเสนอผลงาน
4.
การตรวจผลงานเครื่องมือ
1.
แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2.
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
3.
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4.
แบบประเมินการตรวจผลงาน
เกณฑ์การประเมิน
1.
สังเกตการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
2.
สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
3.
การนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4.
การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1.
ภาพการนั่งสมาธิ
2.
ใบงานที่ 1
3.
ใบงานที่ 2
4.
แบบฝึกหัด
ความคิดเห็นผู้บริหาร
ลงชื่อ………………………………………..
(…………………………………….)
ผู้บริหารสถานศึกษาบันทึกผลหลังการสอน
ปัญหา/อุปสรรค
แนวทางแก้ไข
ลงชื่อ………………………………………..
(……………………………………  
 อ้างอิง

http://tanapan98.blogspot.com/
school.obec.go.th/khaokling/datahtml/social.html
http://media-g5.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น